🔰ช่วงปลายๆปีแบบนี้ workshop ที่ผมจัดให้ลูกค้าบ่อยที่สุดในช่วงนี้ในฐานะที่เป็นที่ปรึกษาด้านการขายและการตลาดนั่นคือ การตั้งเป้ายอดขายปีหน้า

🔰การตั้งเป้าจะว่าไปแล้วก็จะคล้ายๆว่าเราไป “ปักธง” เอาที่จุดใดจุดหนึ่งก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยหาวิธีการไปให้ถึงธงดังกล่าว แนะนำให้บอร์ดบริหารลองตั้งตัวเลขเพื่อเป็นกรอบตั้งต้นไว้กว้างๆก่อน โดยดูตัวเลขย้อนหลังซัก 2-3 ปี และก็เป็นไปได้ว่าเราอาจจะไม่ได้เอาตัวเลขยอดขายในช่วง COVID-19 มาเป็นปัจจัยในการพิจารณาก็ได้

เพราะตัวเลขอาจจะสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริง

🔰เริ่มต้นด้วยบอร์ดบริหารต้องให้ตัวเลขเป้าหมายมา 1 ตัว ซึ่งเป็นไปได้ใน 3 กรณี ก็แล้วแต่จะเลือกเลย ซึ่งลูกค้าผมก็มีทั้ง 3 แบบ

✅แบบถึงชัวร์ ได้แน่ๆ
✅ดูจากข้อมูลหลายๆตัว เพื่อให้ได้ตัวเลขที่เป็นไปได้มากที่สุด
✅ตั้งแบบสูงไปเลย ถ้าไม่ถึงอย่างน้อยก็ได้ตัวเลขสูงสุด
ซึ่งแต่ละแบบจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน อันนี้ก็แล้วแต่บริบทของแต่ละบริษัทฯ อันนี้ขออนุญาตไม่ล่วงเกิน

บทความนี้จะเล่าให้ฟังถึงเทคนิคส่วนตัวที่ผมใช้เองมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน

🟣ขั้นตอนที่ 1: เมื่อได้ตัวเลขก้อนกลมๆจากทางบอร์ดบริหารมาแล้ว ผู้จัดการฝ่ายขายหรือการตลาดต้องมาพิจารณาว่าตัวเลขก้อนนี้ จะแบ่งออก หรือ Breakdown มาเป็นกี่ประเภท ซึ่งแนะนำให้มีอย่างน้อย 6 ประเภทดังนี้

✅Breakdown by month: แต่ละเดือนควรจะขายเท่าไร เทคนิคที่ผมชอบใช้ก็คือให้ออกแบบก่อนว่าครึ่งปีแรก กับครึ่งปีหลัง จะเป็นสัดส่วนเท่าไร เช่น...
ครึ่งปีแรก 55% ครึ่งปีหลัง 45%
หลังจากนั้นก็มาแบ่งเป็นทีละไตรมาศ>>แบ่งออกเป็นเดือน

แนะนำให้แบ่งเป็น % ก่อนเสมอ เช่น เดือน มค. =11% ของเป้าขายทั้งปี

ทั้งนี้ทั้งนั้นควรจะดูตัวเลขยอดขายของแต่ละเดือนใน 2-3 ย้อนหลัง เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

✅ by Product Category
เหตุผลสำคัญที่จำเป็นต้องแบ่งแบบนี้ เนื่องจากถ้ากลุ่มสินค้าอาจจะมีกำไรไม่เท่ากัน ขืนฝ่ายขายไปเน้นขายกลุ่มสินค้าที่ขายง่าย แต่กำไรน้อย ก็เป็นไปได้ว่าแม้จะทำยอดขายถึงเป้าก็จริง แต่บริษัทฯมีสิทธิ์ขาดทุนโดยไม่รู้ตัว

✅ by Key SKU
หรือแบ่งสัดส่วนให้กับสินค้าตัวสำคัญๆของแต่ละ Category ซึ่งผมจะนิยมใช้กฎ 80/20 โดยไม่จำเป็นต้องแบ่งสินค้าทุกตัวเพราะมันจะละเอียดเกินไป สินค้าตัวเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ มักจะให้อยู่รวมกันใน Category นั้น แล้วรวมใช้คำว่า “Others”

ที่สำคัญต้องอย่าลืมตั้งเป้าให้กับสินค้าตัวที่เป็น Strategic SKU หรือสินค้าที่ต้องการผลักดันสูง ส่วนมากจะเป็นสินค้าที่ “High Margin, Low Volume”

✅By Salesman:
แบ่งเป้าให้เซลส์แต่ละคนเป็นตัวเลขก้อนใหญ่ๆ ตามสัดส่วนที่เหมาะสม

✅ Salesman & By Category
แนะนำอย่างแรกให้แบ่งเป้าหมายที่เป็น Product Category และ Key SKU อย่าให้แต่เป้าตัวเลขเดียวรวมๆ เหมือนข้อ 1.4

✅ Key Customer
ที่จำเป็นต้องแบ่งเป้าในข้อนี้ เหตุผลหลักคือจำเป็นต้องมาประเมินเบื้องต้นก่อนว่า ถ้าเอาลูกค้าที่อยู่ในกฎ 80/20 แล้วมาลองหยอดตัวเลขใหม่ดูว่า ลูกค้าหลักๆเหล่านี้จะพอรับตัวเลขไหวหรือไม่ เหมือนๆเป็นการ re-check ก่อนเลยว่าตัวเลขที่ผู้บริหารให้มา มีโอกาสเอื้อมถึงมากน้อยขนาดไหน

🔰เทคนิคที่ผมชอบใช้ก็คือ สมมุติว่าปี 67 เป้าสูงขึ้นกว่าปี 66 = 10%
ดังนั้นก็เอายอดขายย้อนหลังซัก 3 ปีมาเปรียบเทียบดูว่า มีโอกาสมากน้อยขนาดไหน แน่นอนก็เป็นไปได้ว่าลูกค้าบางรายมีอัตราเติบโตมากกว่า 10% บางรายอาจน้อยกว่านั้น หลังจากนั้นก็ SUM ตัวเลขดู

🔰ถ้า Key Customer ทุกรายของบริษัทฯ จากประวัติที่ผ่านมาไม่มีรายใดเลยที่เติบโตผ่าน 10% และปีหน้าก็ไม่มีสินค้าตัวใหม่, ไม่มีการขึ้นราคาสินค้า หรือกิจกรรมที่เป็น “จุดเปลี่ยนที่สำคัญ”​ คงต้องเป็นภาระของผู้จัดการฝ่ายขายหรือฝ่ายการตลาดไปคุยกับฝ่ายบริหารได้เลยว่าตัวเลขที่ผู้บริหารให้มา

“เป็นเสมือนความฝันพรุ้งพริ้งไปหน่อยนะท่านนะ”

🟣ขั้นตอนที่ 2: กำหนดเป้าหมายของแต่ละประเภทตามขั้นตอนที่ 1

🟣ขั้นตอนที่ 3: พอเราได้ “ธง” มาแล้ว ถึงคราวต้องดูว่าเราจะไปถึง “ธง”ได้อย่างไร นั่นคือการกำหนดกลยุทธ์ (กรอบแนวความคิด) และ Tactic (วิธีทำ) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายยอดขายนั้น ในขั้นตอนนี้อาจจะทำรวม หรือทำแยกกันก็ได้ระหว่างฝ่ายขายและฝ่ายการตลาด และกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายคร่าวๆ เอาไว้ด้วย จะได้ประหยัดเวลา

🟣ขั้นตอนที่ 4: ผู้บริหารนำตัวเลขเป้าไปวิเคราะห์ตัวเลขทางการเงิน เพื่อดูว่าตัวเลขยอดขายประมาณนี้ กำไรมันสวยงาม หรือพอรับได้ขนาดไหน? ถ้าตัวเลขก้อนนี้ผ่าน ก็ทำให้ขั้นตอนต่อไป ถ้าตัวเลขไม่ผ่าน เช่น กำไรมันน้อยเกินไปจนทำให้บริษัทฯขาดทุน ก็ให้กลับไปในขั้นตอนที่ 2 ใหม่
ขั้นตอนที่ 5: นำกลยุทธ์ทั้งหมดมาลงในรายละเอียด นั่นคือการทำ Action Plan ซึ่งจะต้องตอบในเรื่องหลักๆ ดังนี้
✅ต้องทำอะไร
✅ทำตอนไหน
✅งบประมาณเท่าไร
✅ใครเป็นคนรับผิดชอบ

🔰Template ที่ส่วนตัวนิยมใช้ ก็เป็นตาราง Excel ธรรมดาๆนี่แหละ หัวข้อไหนที่มีรายละเอียดเยอะหน่อยก็ทำ Hyperlink ไปอีก Sheet หนึ่ง ไม่งั้น Action Plan มันจะดูยุ่งยากเกินไป

🔰สรุปคือ Action Plan แผ่นแรกเปรียบเสมือน “ใบปะหน้า” ที่ให้ดูง่ายๆ มองปร๊าดเดียวก็รู้ว่าแต่ละเดือนต้องทำอะไรบ้าง ส่วนรายละเอียดก็แยกไปอีกหน้าหนึ่ง โดยใช้ Hyperlink ให้เป็นประโยชน์

🟣ขั้นตอนที่ 6: ในกรณีที่ไม่ได้ทำเป้าร่วมกันระหว่างฝ่ายการตลาดและฝ่ายขาย ขั้นตอนนี้ฝ่ายขายต้องเอาตัวเลขมาลองหยอดใส่ลูกค้ารายสำคัญ ตามกฎ 80/20 แต่คราวนี้ให้แยกตามเซลส์แต่ละคน

แตกต่างจากขั้นที่ 1 เพราะขั้นตอนนี้ หยอดตัวเลขเฉพาะลูกค้าใหญ่ๆ ทั้งบริษัทฯรวมกัน ที่จำเป็นต้องทำขั้นตอนนี้ เพื่อดูว่าเซลส์แต่ละคน พอเราแบ่งตัวเลขเป้าหมายให้ไปแล้ว มันพอเป็นไปได้หรือไม่

ถ้าลูกค้าใหญ่ๆรับได้ ดังนั้นเซลส์คนนี้ก็มีสิทธิ์ทำถึงเป้าได้ ถ้าไม่ถึงอาจต้องมีการแบ่งสันปันส่วนกันใหม่

🟣ขั้นตอนที่ 7: เป็นการปรับเป็นรอบสุดท้ายจากฝ่ายขาย เนื่องจากฝ่ายที่ต้องนำตัวเลขเป้าหมายนี้ไปปฎิบัติ

ทั้งหมดก็มีประมาณนี้ครับ ลองนำไปใช้เป็นแนวทางดูครับ
😁😁😁
-บุ้ง ดีดติ่งหู-
Marketing&Sales Consultant
Underdog Academy
Phone: 089-7991949
Line id: wichawut_boong
Email: [email protected]

จุดประกายไอเดียทางการตลาดและการขาย

สมัครรับข่าวสาร

© สงวนลิขสิทธิ์ 2018-2024 Underdog Marketing
นโยบายความเป็นส่วนตัว
crossmenu

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า