ภาพลวงตาจากบรรดาไอดอล

ท่านเคยออกสินค้าใหม่หรือบริการใหม่ๆ แล้วไม่ประสบความสำเร็จหรือเปล่า แต่บริษัทฯอื่นที่เขาก็ทำคล้ายๆกับเราแต่กลับขายดิบขายดี

???ช่วงนี้ชีวิตการทำงานของผม เร่ิมจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการออกแบบ Business Model ใหม่ๆ โดยนำเอาเทคโนโลยีมาเป็นแกนหลัก อย่างตอนนี้ก็รับเป็น Project Director ให้กับโครงการอันหนึ่งซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง 2 บริษัทฯในวงการอสังหาริมทรัพย์ 

ส่วนอีกอันหนึ่งเป็นก็เป็นเพียง SMEs ที่เขาอุตสาห์เชื้อเชิญให้เป็นหนึ่งในทีมงานในการพัฒนา AI เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำการตลาด

โชคดีที่ก่อนหน้านี้เคยพอมีประสบการณ์มาบ้าง ในการเข้าไปทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทฯประเภทเทคโนโลยี่ ทำให้เรียนรู้ถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จ ที่ทำให้บางแห่งก็สามารถไปต่อได้อย่างมั่นคง

ในทางกลับกันก็เห็นปัจจัยที่ทำให้ Start Up หลายแห่งไปต่อไม่ไหว นั่นก็คือ ชุดความคิด (mindset) ที่บอกกับตัวเองว่า ก็เห็นบริษัทฯใหญ่ๆเขายังทำได้เลย ทำไมฉันจะทำไม่ได้บ้างละ แรกเริ่มเดิมทีเขาก็เร่ิมจากจุดเดียวก้บฉันนี่แหละ 

แล้วก็จะยกตัวอย่างไอดอล ที่ได้ยินอยู่เป็นประจำ ก็ประมาณ

สตีฟ จ๊อบส์, อีลอน มัสก์, มาร์ค ซัคเคิลเบริ์ก ถ้ามาแถวบ้านเราหน่อยหนีไม่พ้น แจ๊ค หม่า

เลยอยากเล่าให้ฟังถึงทฤษฏีหนึ่งชื่อว่า “Survivorship Bias” หรือ “การเอนเอียงของความคิดจากการเห็นผู้รอดชีวิต” ??

จุดเริ่มต้นของทฤษฎีนี้มาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนที่กองทัพอากาศสหรัฐฯ​ ได้มีการจดบันทึกสถิติจุดต่างของเครื่องบิน ที่โดนยิงจากข้าศึก แต่ก็ยังอุตสาห์บินกลับมาถึงฐานทัพจนได้ 

จากสถิติพบว่าจุดโดนยิงมากที่สุด คือบริเวณปีก แถวๆกลางลำตัว และบริเวณหาง ดังนั้นถ้าเสริมความแข็งแรงทั้งหมดนี้ เครื่องบินก็จะปลอดภัย และสามารถบินกลับมาได้มากยิ่งขึ้น

ว่าแล้วกองทัพก็เร่งเสริมความแข็งแกร่งให้เครื่องบินตามจุดที่ว่าเป็นการใหญ่ แต่สุดท้ายอัตราเครื่องบินที่รอดตายมาจากสมรภูมิก็ “เหมือนเดิม” ไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่ประการใด

??สาเหตุก็คือเครื่องบินที่ถูกสอยร่วงก่อนกลับมาถึงฐานทัพ ว่าจริงๆแล้วมันเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ มัวแต่ไปมองเฉพาะเครื่องบินที่รอดตาย ส่วนนักบินที่ไม่กลับมา เขาไม่มีสิทธิ์มาเล่าแจ้งแถลงไขให้ฟัง เพราะหายไปพร้อมกับเครื่องบินนั่นแหละ!??

ย้อนกลับมาที่บรรดา Start Up ไฟแรงที่เคยไปช่วยมาก่อนหน้าหลายปีมาแล้ว ที่เขามองเห็นแต่ความสำเร็จเพียงด้านเดียว พอมีใครทักเข้าหน่อย มีความเห็นแย้ง หรือชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยง

งานนี้มีการขัดใจ ตามประสาวัยรุ่น...ก็เข้าใจได้??

ถามว่าเขาจะมีไอดอลแบบนี้เป็นแรงบันดาลใจมันผิดมั๊ย บอกได้เลยว่าไม่ผิดแน่ๆ แต่อยากจะให้มองกว้างไปอีกนิดหนึ่ง ให้ดูไปถึงบริษัทฯในที่ไม่รอดบ้าง เพราะไอดอลที่ชอบเอามาอ้างถึงนั้น จะว่าไปแล้วแทบจะนับจำนวนได้ เป็นเสมือนเพียงยอดของภูเขานำ้แข็งเท่านั้น แต่ฐานใหญ่สุดที่จมอยู่ใต้น้ำ นั่นคือบริษัทฯที่เจ๊งไปก่อนหน้านี้ตั้งนานแล้ว

จากทฤษฏีเรื่องดังกล่าว เลยพอจะตกผลึกความคิดได้ประมาณนี้

✅จำนวน “ไอดอล” มีเพียงจำนวนแค่หยิบมือเดียว อย่าเอามาเป็นตัวแทนทั้งหมดเพื่ออธิบายในทุกๆเรื่อง พูดง่ายๆคืออย่าทำให้เกิด “ความเอนเอียงทางความคิด”

✅การทำเริ่มต้นทำธุรกิจ หรือออกสินค้าใหม่ๆ อย่ามั่นใจในตัวสินค้าของตัวเองเกินไป จนมองข้ามปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

✅ถ้าจะมองคนที่ประสบความสำเร็จแล้ว เพื่อมาเป็นแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจก็ทำได้ไม่มีใครว่า แต่ควรลองหันไปศึกษาคนที่ประสบความล้มเหลวดูบ้างว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

✅องค์ประกอบ และความพร้อมของแต่ละคน แต่ละธุรกิจย่อมแตกต่างกันแน่ๆ อย่าเลียนแบบคนเก่งๆเพียงแค่ผลลัพธ์ ให้มองถึง “เหตุแห่งความสำเร็จ” นั้นด้วย ถ้ามีองค์ประกอบไม่เหมือนเขา อย่างเก่ง idol ท่านนั้นก็เป็นได้แค่เพียงแรงบันดาลใจ 

✅ออกแบบธุรกิจให้เป็นแบบฉบับของตัวเอง เพราะเผลอๆในอนาคตท่านอาจจะเป็นแรงบันดาลให้คนอื่นบ้าง หรือในทางกลับกันคนอื่นก็อาจจะขอเรียนรู้ปัจจัยแห่งความล้มเหลวก็ได้เช่นเดียวกัน

เพราะส่วนตัวเชื่อว่า “องค์ความรู้” ทั้งสำเร็จและล้มเหลว 

มีคุณค่าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันครับ

บทความทั้งหมดนี้ไม่มีลิขสิทธิ์เผยแพร่ได้ตามสะดวก

???

-บุ้ง ดีดติ่งหู-

Marketing&Sales Consultant

The Underdog Marketing

Line id: wichawut_boong

Email: [email protected]

#SurvivorBias

#Bias

#บุ้ง #ดีดติ่งหู #underdog

จุดประกายไอเดียทางการตลาดและการขาย

สมัครรับข่าวสาร

© สงวนลิขสิทธิ์ 2018-2024 Underdog Marketing
นโยบายความเป็นส่วนตัว
crossmenu

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า