วันนี้ขอเล่าต่อจาก EP#87 ที่เล่าให้ฟังถึงหัวข้อหลักๆในการสัมภาษณ์เซลส์ในสไตล์ของ “บุ้ง ดีดต่ิงหู” ซึ่งจะแบ่งเป็นเรื่องหลักๆ 4 เรื่องได้แก่
2. ทัศนคติ
หัวข้อนี้จะเป็นเรื่องที่ให้ความสนใจต่อจากความเหมาะสมด้านกายภาพตามหัวข้อที่แล้ว ผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า
“ถ้าเซลส์มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน พฤติกรรมก็จะดีตามไปด้วย”
ตัวอย่างคำถามเพื่อตอบโจทย์ในข้อนี้
วัตถุประสงค์: เพื่อดูว่าเขาจะตอบในแง่บวก หรือแง่ลบ เช่น คำตอบมาประมาณว่า “ทำไม่ได้หรอกครับ”แบบนี้ ถือว่าสอบตกทันที
ถ้าตอบว่า “ได้” ต้องถามต่อว่าจะทำอย่างไร แต่เนื้อหาการตอบไม่จำเป็นที่ต้องถูกต้องเป๊ะๆ เพราะเขายังไม่ได้เริ่มทำงานเลย แล้วจะรู้ได้อย่างไร ฟังแค่แนวคิดว่าคนๆนี้มีพลังแห่งการคิดบวกหรือไม่
วัตถุประสงค์: มันสมเหตุสมผลหรือไม่ในการลาออกจากบริษัทฯเก่า เช่น ถ้าประมาณว่าโทษบริษัทฯเก่า โน่นก็ไม่ได้ อันนี้ก็ไม่ดี เจ้านายแย่ แบบนี้ก็อาจจะดูไม่ดีนัก แม้ว่าบริษัทฯปัจจุบันจะไม่ดียังไง แต่เพิ่งเจอกันครั้งแรก ก็ไม่สมควรไปตำหนิคนที่เคยจ้างคุณมาก่อนหน้านี้
วัตถุประสงค์: การเป็นเซลส์นั้นเรื่องการตอบข้อโต้แย้งจากลูกค้าเป็นเรื่องธรรมดามากๆ แต่การทำธุรกิจจะต้องดำเนินต่อไป เพราะฉะนั้นเซลส์ท่านนั้นต้องรู้จักมีความอดทนต่อเรื่องแบบนี้
ส่วนมากผู้สมัครก็มักจะเล่าให้ฟังแต่ในแง่ดีๆ ว่าผมก็จัดการได้ แต่เผอิญถ้ามีหลุดอาการเรื่องของการนินทาลูกค้ารายนั้น ส่วนตัวมักจะมองว่าคนนี้ไม่มีความเป็นมืออาชีพเลยครับ เพราะการนินทาลูกค้าให้คนภายนอกฟัง เป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง
วัตถุประสงค์: เพื่อดูว่าเขามีความกระตือรือล้นในการเรียนรู้มากน้อยขนาดไหน อาจจะขยี้ถามต่อไปว่าช่วงสอนงานเขามีเวลาแค่แป๊บเดียว แล้วคุณมีวิธีการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างไร
หลายปีมาแล้วผมเคยสัมภาษณ์เซลส์มาคนหนึ่ง ก็ถามว่าแล้วคุณจะที่บริษัทฯเก่าคุณรู้จักเส้นทางการไปเยี่ยมร้านค้าได้อย่างไร เพราะคุณเป็นคนต่างถิ่น หัวหน้างานคุณก็สอนงานให้แค่อาทิตย์เดียวเองเขาตอบว่า
“แรกๆก็ไม่ถูกหรอกครับ ยัง งงๆอยู่ ผมก็เลยใช้วันเสาร์-อาทิตย์ขับรถเองเพื่อสำรวจพื้นที่เลยครับ แล้วเกือบจะได้เข็นรถ เผอิญขับเพลินไปหน่อยลืมดูเกจ์วัดน้ำมัน”
ณ ปัจจุบันเซลส์คนนี้เป็นระดับผู้บริหารด้านการตลาด ให้บริษัทอินเตอร์ไปแล้ว
3.จริยธรรม
ตำแหน่งเซลส์เป็นตำแหน่งที่บริษัทฯต้องให้ความไว้เนื้อเชื่อใจสูง เพราะส่วนใหญ่จะใช้เวลาทำงานอยู่ข้างนอก
เพราะฉะนั้นถ้าเขาไม่มีจริยธรรม หรือระเบียบวินัยในตัวเอง ถ้าขืนเรารับมาเข้าทำงานด้วยก็รังแต่จะสร้างภาระให้กับหัวหน้างาน
ส่วนตัวมักจะไม่รับคนที่ติดการพนัน กินเหล้าหรือสูบบุหรี่จัด
คำถามชุดนี้มักจะไม่ถามตรงๆ เพราะตอนสัมภาษณ์ก็มักจะได้รับคำตอบดีเสมอ เพราะฉะนั้นอาจต้องถามอ้อมๆ และสังเกตุบุคลิกประกอบ เช่น
4.ประสบการณ์
หัวข้อนี้ส่วนตัวมักจะให้คะแนนไม่มากเท่าไร เพราะประสบการณ์เป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้ว และก็เป็นไปได้ว่าการทำงานแต่ละแห่ง วิธีทำงานย่อมแตกต่างกัน
ไม่ได้บอกว่าเขาทำยอดขายสูงสุดจากที่อื่น แล้วจะมาเป็น Top Sales ที่นี่ แม้กระทั่งเรื่องวุฒิการศึกษาก็ตาม โลกธุรกิจคนที่จบสูงๆ หรือจบบริหารธุรกิจมา แล้วเขาจะมาเป็นเซลส์ที่ดีได้
ยกเว้นธุรกิจของท่านจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์สูงจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลส์ที่ขายแบบ Corporate หรือต้องใช้ความรู้ด้านเทคนิคเป็นพิเศษ ขืนรับคนที่ไม่มีพื้นฐานเลยอาจจะเสียเวลาเป็นปีๆ กว่าเขาจะขายสินค้าเป็น หรือถ้าเรารับเข้ามาทำงานแล้ว จะมีลูกค้าติดมือมาด้วย
ลงเป็นแบบนี้คำว่า “ประสบการณ์”จะจำเป็นอย่างยิ่ง
และถ้าเป็นธุรกิจ FMCG ถ้าใครผ่านบริษัทฯประเภทนี้มาก่อน ตรงนี้ก็อาจเป็นข้อได้เปรียบอย่างหนึี่ง อย่างน้อยเขาจะได้รู้่ว่างานนี้มันเหนื่อยขนาดไหน ขั้นตอนหลักๆมีอะไรบ้าง? ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่ได้แตกต่างกันมากนัก
ที่เล่ามาทั้งหมดนี้เวลาสัมภาษณ์จริง เราจะได้ไม่ครบทั้ง 4 เรื่องหรอก น้อยคนมากที่จะสมบูรณ์แบบทุกข้อ
สมัยหนึี่งที่ผมทำงานประจำเป็นผู้จัดการฝ่ายขาย ที่ต้องไปแก้ไขสถารณ์บริษัทฯที่กำลังย่ำแย่ เลยต้องสัมภาษณ์เซลส์ทุกวัน เพราะตอนนั้นเราเจอปัญหาเรื่องอัตราการเข้าออกของเซลส์สูงมาก
ต้องแก้ไขเรื่องปริมาณเป็นอันดับแรก
ส่วนเรื่องคุณภาพของเซลส์เอาไว้ทีหลัง
วิธีสัมภาษณ์ก็ง่ายมาก
แต่เอานิ้วอังจมูก ขอแค่มีลมผ่านนิ้วเพียงแผ่วเบา
คนนั้นก็ได้งานแล้วครับ
บทความนี้ไม่มีลิขสิทธิ์สามารถเผยแพร่ได้ตามสะดวก
-บุ้ง ดีดติ่งหู-
Marketing&Sales Consultant
The Underdog Marketing
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า