จากการที่เข้าไปทำงานให้กับบริษัทฯหลายๆแห่ง ในฐานะของที่ปรึกษาด้านการตลาดและการขาย วันแรกๆของการทำงานก็มักจะตั้งคำถามกับทางผู้บริหารเสมอว่า
เบี้ยเลี้ยง หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ สำหรับทีมขายต่างหวัดเป็นอย่างไร และทำไมต้องเป็นจำนวนเงินเท่านี้ด้วย
คำตอบที่ได้ส่วนมากก็ประมาณ “ก็เคยจ่ายมาแบบนี้”, “ก็กะๆเอา”
ดังนั้นบทความนี้จะเล่าให้ฟังถึงแนวคิดส่วนตัว เพื่อเป็นการตั้ง “ชุดความคิด” เพื่อท่านผู้อ่านจะได้เอาไปปรับใช้ได้ และเผื่อเอาไว้ถ้าเซลส์เขาขอปรับค่าเบี้ยเลี้ยงใหม่
จะได้มีหลักการเพื่อพูดคุย ไม่ใช่ต่อรองกันที่ตัวเลขโดยรวมอย่างเดียว
ก่อนจะเข้าเรื่องต้องขออธิบายก่อนว่า คำว่า “เบี้ยเลี้ยง” (Allowance) หมายถึง “เงินที่จ่ายให้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการไปปฏิบัติงานนอกสถานที่โดยไม่รวมถึงค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะในการเดินทาง” (อ้างอิงตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554)
ถ้าแยกองค์ประกอบของคำอธิบาย จะมีทั้งหมด 3 ส่วน
คราวนี้มาลองวิเคราะห์ทีละข้อ
เพื่อหากรอบความคิดในการคำนวณเบี้ยเลี้ยงของเซลส์
1.เป็นเงินค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ซึ่งโดยปรกติทั่วๆไปแล้ว ถ้าเป็นค่าใช้จ่ายในประเทศก็จะหมายถึงค่าอาหาร หลายครั้งที่ผมต้องไปประชุม หรืออบรมที่ต่างประเทศ บริษัทฯเขาจะจ่ายให้เพิ่ม ซึ่งรวมไปถึงค่าซักผ้า, ค่าทิปในร้านอาหาร, แม้กระทั่งเอาเงินเบิกล่วงหน้าสำหรับการตัดชุดสูตร สำหรับการเข้าประชุม
ดังนั้นกรอบความคิดในการคำนวณเบี้ยเลี้ยง ก็ควรจะคำนึงถึง “ค่าอาหาร” เป็นหลัก คำถามคือแล้วค่าอาหารแต่ละมื้อควรจะเป็นเท่าไร ตรงนี้แหละครับ จึงเป็นดุลยพินิจของผู้บริหาร
สมมุติเราตีไปว่า ค่าอาหาร + เครื่องดื่ม ต่อ 1 มื้ออยู่ที่ 80 บาท
ค่าเบี้ยเลี้ยงก็ควรจะเป็น 240 -250 บาท ต่อวัน
ดังนั้นประเด็นที่เป็นดุลยพินิจของผู้บริหารก็คือ
2) ต้องไปปฎิบัติงานนอกพื้นที่
ประเด็นตรงนี้ต้องนิยามให้ชัด คำว่า “นอกพื้นที่” หมายความว่าอะไร พูดง่ายๆคือเซลส์คนนั้น เขาพื้นที่ “ทำงานหลัก” อยู่ที่ไหน ต้องชัดเจนตั้งแต่รับเข้ามาทำงาน เท่าที่เคยเจอมีอยู่ 2 แบบ
2.1 พื้นที่หลักคือกรุงเทพฯ เพราะฉะนั้นเมื่อไรก็ตามที่ออกนอกพื้นที่กรุงเทพฯ + ปริมณฑล ก็จะต้องได้รับเบี้ยเลี้ยง
สมมุติถ้าบริษัทฯตั้งอยู่กรุงเทพฯ และเซลส์จะมีบ้านอยู่ต่างจังหวัด เมื่อไรก็ตามที่เขาเข้ามาประชุมที่กรุงเทพฯ จึงไม่มีความจำเป็นที่บริษัทฯจะต้องจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง รวมไปถึงค่าเดินทาง และค่าที่พัก
อย่างไรก็ตามก็เคยเจอบริษัทฯที่เขาจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงเซลส์กรุงเทพฯ เหมือนกัน แต่เม็ดเงินต่อวันจะน้อยกว่าเซลส์ต่างจังหวัด เหตุผลก็คือที่นี่เป็นโรงงาน และมีสวัสดิการเลี้ยงอาหารกลางวันพนักงาน
ดังนั้นเซลส์คนนี้อาจจะเสียสิทธิ์ เขาเลยจ่ายตรงนี้ให้
เออ...บริษัทฯนี้ก็น่ารักไปอีกแบบ
2.2 พื้นที่การทำงานอยู่ต่างจังหวัด ถ้าเรามีเซลส์กระจายอยู่ทั่วประเทศ อาจจะเป็นสำนักงานย่อยในต่างจังหวัด หรือแม้จะไม่มีก็ตาม แต่เรามีการจ้างเซลส์ประจำพื้นที่
ดังนั้นเมื่อเขาทำงานในพื้นที่ก็ไม่จำเป็นต้องจ่าย แต่เมื่อไรก็ตามที่เขาต้องทำงานนอกพื้นที่ ซึ่งโดยปรกติจะพิจารณาว่าเขาจำเป็นต้องค้างคืนหรือไม่ ถ้าจำเป็นเราก็จำเป็นต้องจ่ายทั้งค่าเบี้ยเลี้ยง, ค่าที่พัก และค่าเดินทาง
3) ไม่รวมค่าเช่าที่พัก และค่าเดินทาง
ประเด็นที่น่าสนใจของเรื่องค่าที่พักก็คือ ควรจะเบิกตามจ่ายจริง หรือเป็นเหมาจ่าย? คำตอบมันอยู่ที่ว่าค่าที่พักนี้ บริษัทฯตีความว่ามันคือ ค่าใช้จ่ายบริษัทฯ หรือ เป็นรายได้ของเซลส์
ถ้าตีความว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทฯ ดังนั้นเซลส์ก็ควรเอาบิลมาเบิก เพราะบริษัทฯสามารถเอาตรงนี้มาทำเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ลดหย่อนเรื่องภาษีได้
กลับกันถ้าอยากจะเหมาจ่ายไปเลยก็ทำได้ แต่โดยหลักทางบัญชีแล้วจะต้องนำส่วนนี้ไปอยู่ในระบบเงินเดือน เซลส์จะมีรายได้เพิ่มขึ้นทันที ส่งผลต่อการคำนวณการเสียภาษีบุคคลธรรมดา
แต่อย่างว่าแหละครับ บริษัทฯไทยอย่างเรา ก็หยวนๆกันไป บริษัทฯเลยต้องรับภาระเอง และเสียโอกาสนำมาหักเป็นค่าใช้จ่าย
แต่ว่าโดยหลักการมันไม่ถูกต้องแน่ๆ
ประเด็นที่น่าสนใจเรื่องนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือ แม้ว่าจะใช้ระบบให้เซลส์เบิกตามจริง หรือเหมาจ่ายก็ตาม ถ้าเป็นไปได้ผมมักจะแนะนำให้บริษัทฯระบุที่พักไว้ในตารางการเดินทางของเซลส์เอาไว้เลย
จะได้รู้ว่าเขาพักที่ไหน และเพื่อเป็นการตรวจสอบของหัวหน้างานอีกด้วย เพราะบทบาทของหัวหน้างานบางครั้ง จำเป็นต้องมีการ Surprise Checking การทำงานของลูกน้อง
มันก็เป็นไปได้ว่า ตอนเช้าตอน 8.00 พอลงมาที่ Lobby โรงงแรม อาจจะเจอกับ Sales Supervisor มานั่งกินกาแฟรออยู่แล้ว เพื่อออกไปเยี่ยมลูกค้าด้วยกันก็ได้
โธ่ๆๆๆ เฮีย...เล่นมาไม่บอกไม่กล่าวกันเลย...ใจหายหมด...
บทความนี้ไม่มีลิขสิทธิ์เผยแพร่ได้ตามสะดวก
-บุ้ง ดีดติ่งหู-
Marketing&Sales Consultant
The Underdog Marketing
Line id: wichawut_boong
Email: [email protected]
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า