สมมุติว่าท่านกำลังจะออกสินค้าซักตัวหนึ่ง...
คำถามคือ...แล้วควรจะตั้งราคาขายเท่าไรดี...
เชื่อได้เลยว่า...คนซื้อหรือผู้บริโภค...
ก่อนที่เขาจะซื้อสินค้า...มักจะมีการ “เปรียบเทียบ”เสมอ...
เพราะฉะนั้นโจทย์ที่สำคัญก็คือ...
เราต้อง “ตีกรอบ” ความคิดของลูกค้า...
ในการเปรียบเทียบ...เพื่อให้ภาพลักษณ์สินค้าของเรา...
หรือภาพในใจลูกค้าที่ภาษาทางการตลาดเรียกว่า...
“Perceptual Map”
อยู่ในจุดที่ “เหมาะสม” ที่สุด...
เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง...ทั้งทางตรง...และทางอ้อม...
ความคุ้มค่า...หรือภาพลักษณ์ของตัวเขาเมื่อได้ครอบครอง...
(ภาพข้างล่างนี้...เป็นตัวอย่างของ Perceptual Map...
หรือบางท่านก็อาจจะเรียกว่า “Product Positioning” )
ดังนั้นการ “ตีกรอบ”ที่ว่า...
มีที่มาจากทฤษฎีทางจิตวิทยาบทหนึ่ง...
ที่เรียกว่า Anchoring Effect...
“Anchoring”...หรือ “Anchor”…แปลว่า “สมอเรือ”...
บางทีในสาขาวิชานี้ก็เรียกว่า...
“ทฤษฎีการตั้งหลัก”....
------------------------------------------------------------
เมื่อเอามาปรับใช้ในฝากฝั่งของการตลาด...
จะหมายถึงการปลูกฝังชุดความคิดให้กับกลุ่มเป้าหมาย...
เพื่อทำให้เขามีความเอนเอียงในการรับรู้...
หรือที่เรียกว่า Cognitive Bias…
และการปลูกฝังที่ดีที่สุดคือ...
การสร้างความประทับใจในครั้งแรก...
หรือเรียกว่า First Impression…
ประมาณถ้าอยากจะจีบสาว...
ต้องให้เจ้าหล่อนประทับใจตั้งแต่ครั้งแรก...
เจอหน้าปั๊บ...ต้องหลงรักเลย...
----------------------------------------------------------
สมมุติว่า...ท่านมีโรงงานทำกระเป๋าสตรี...
ตอนนี้ก็ทำรุ่นใหม่ออกมารุ่นหนึ่ง...
ต้นทุนการผลิตซัก 300 บาท...
คำถามคือ...ท่านจะตั้งราคาขายเท่าไรดี...
เชื่อว่า...อย่างน้อยคงไม่ต่ำกว่า 300 บาทแน่ๆ...ใช่ปะครับ...
1,000, 2,000, 5,000…
หรือจะซักสองสามหมื่น...ก็สุดแต่ใจเลย...
------------------------------------------------------------
อย่างที่เล่าให้ฟังข้างต้นแล้วครับว่า...
การตั้งราคาขายสินค้า...เราต้องสร้างภาพ..
เพื่อให้เกิดการ “เปรียบเทียบ” ในใจของลูกค้า...
อันนี้มันก็ขึ้นอยู่กับตัวเจ้าของสินค้าแล้วครับว่า...
ท่านอยากจะให้เปรียบเทียบกับอะไร...
-----------------------------------------------------------------
สมมุติว่ากรณีนี้...ท่านจะให้เปรียบเทียบกับคู่แข่งโดยตรง...
และโดยธรรมชาติของสินค้าแฟชั่น...
เรื่องของอารมณ์...หรือแบรนด์ของสินค้า...
อาจจะมีมากกว่าเรื่องของฟังก์ชั่นการใช้งาน...
เพราะฉะนั้น...ท่านก็ต้องฝังชุดความคิดชุดหนึ่ง...
ลงไปในสมองของลูกค้าว่า...
กระเป๋าของฉัน...ดูดีกว่า, มีเอกลักษณ์กว่า, เป็นที่นิยมกว่า...
เมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาด...
-----------------------------------------------------------
จำได้ว่า...สมัยหนึ่งตอนที่ผมเห็นกระเป๋ายี่ห้อ Kliplig ครั้งแรก...
ตอนที่น้องสาวไปซื้อมาจากเมืองนอก...
ก็ถามราคา...เฮ้ย...กระเป๋าผ้าไนล่อนธรรมดาเนี่ยนะ...
คิดเป็นเงินไทยตกห้าพันกว่าบาท...
แต่พอเธอโชว์ว่า...มันมีเอกลักษณ์ตรงที่มี...
ตุ๊กตาลิงตัวน้อยๆ...น่ารักๆตัวหนึ่งห้อยอยู่ตรงข้างๆ...
เออ..เฮ้ย...มันก็สมเหตุสมผลนี่หว่า...
ยี่ห้ออื่นในตอนนั้นไม่มี...
งานนี้ผมโดนฝ่ายการตลาดของกระเป๋ายี่ห้อ...
ฝังชุดความคิดแล้วว่า...
กระเป๋ายี่ห้อนี้...ต้องราคาประมาณนี้แหละ...
-----------------------------------------------------------
จัดอีกซักตัวอย่างหนึ่งแล้วกัน...
ถ้าท่านมีสินค้าที่เป็นนวัตกรรมล้ำๆซักอย่างหนึ่ง...
ตรงนี้การ “ฝังชุดความคิด” เรื่องของราคา...
อาจจะเป็นงานง่ายหน่อย...เพราะหาคู่เปรียบเทียบยาก...
หรือเผลอๆในอนาคต...
ตัวท่านเองนั่นแหละจะกลายเป็น “คู่เทียบ”ให้คนอื่นซะด้วยซ้ำ...
ลองนึกถึงสมัยที่ไอโฟนเปิดตัวใหม่ๆดูครับ...
ตอนนั้นจำได้ว่า...ผมยังใช้โทรศัพท์ BlackBerry อยู่เลย...
เพราะสะดวกเวลาพิมพ์ Chat ภายในกลุ่ม...
มีแป้นพิมพ์จริงๆอยู่บนตัวเครื่อง...
พอมีไอโฟนเปิดตัวมาปั๊บ...
จากหลายสิบปุ่ม...เหลือแค่ปุ่มเดียวตรงกลาง...
แป้นพิมพ์กลายเป็นแป้นพิมพ์เสมือน...
เวลาจะใช้...มันถึงจะโผล่ออกมาบนหน้าจอ...
App ต่างๆบนเครื่องก็สุดเจ๋งสุดๆ...
เขาเลยฝังชุดความคิดให้กับลูกค้าว่า...
ถ้าสินค้าตัวนี้มันเจ๋งขนาดนี้...
อยากจะได้...ต้องแลกด้วยเงินไม่ต่ำกว่า สี่หมื่น...
นับว่าเป็นราคาที่สูงสุดในตลาดมือถือ ณ ขณะนั้น...
กลุ่มลูกค้าเลยกลายเป็นคนที่มีสตุ้งสตางค์ซักหน่อย...
ตัวบริษัทฯแอปเปิ้ลเลยมียอดขายมหาศาล...
-----------------------------------------------------------
ต่อมาอีกซักระยะ...พอค่ายอื่นๆเห็นเจ้าสมาร์ทโฟนตัวนี้...
มา “ฝังราคา” ในกลุ่มนี้...เลยทำออกมาบ้าง...
แต่ไม่สามารถใช้ระบบปฎิบัติการเหมือนอย่างไอโฟน...
ต้องทำเองขึ้นมาใหม่...
แน่นอนครั้งแรกๆที่มีระบบ Android...
เวลาถูหน้าจอ...มันจะหน่วงๆหน่อย...
ไม่ลื่นปรื้ดเหมือนอย่างไอโฟนเขา...
ก็เลยตั้งราคาให้ต่ำกว่าหน่อยนึง...
------------------------------------------------------------------------
ในความคิดผม...จริงๆแล้วบรรดา Android ทั้งหลาย...
ควรจะขอบคุณไอโฟนเขานะครับ...
เขาอุตสาห์ “ฝังชุดความคิด” ตั้งราคาไว้ซะสูงในครั้งแรก...
ถ้าตั้งต่ำเกินไป...ท่านอาจจะไม่แรงที่จะผลิตสินค้าออกมาสู้ก็ได้....
เพราะฉะนั้น...จากทฤษฎีเรื่อง Anchoring Effect นี้...
ทุกๆครั้งที่ผมจะต้องตั้งราคาสินค้าซักตัวหนึ่ง...
สิ่งที่ผมต้องทำก็คือ...
พยายามตั้งราคาให้สูงสุด...
เท่าที่ลูกค้าจะยอมรับได้ก่อนเสมอ...
เพราะถ้าตั้งสูงแล้ว...เราจะลดราคาเมื่อไรก็ได้...
แต่ถ้าต่ำเกินไปละก็...โอกาสที่จะขึ้นราคาทำได้ยากมาก...
สินค้าราคาสูงจะขายไม่ได้เลย...
ถ้าสินค้าตัวนั้นมัน... “แพง”...เกินไป...
แต่สินค้าบางตัว...ราคาต้องสูง...
ถึงจะขายได้ครับ...
---------------------------------------------------------------
บทความทั้งหมดนี้ไม่มีลิขสิทธิ์
สามารถเผยแพร่ได้ตามสะดวกครับ
ยังมีบทความอีกมากใน www.underdog.run
-บุ้ง ดีดติ่งหู-
Marketing & Sales Consultant
The Underdog marketing
Fanpage: บุ้ง ดีดติ่งหู
LINE ID: wichawut_boong
email: [email protected]
website: www.underdog.run
Mobile: 089-7991949
#บุ้ง #ดีด #วิชาวุธ #ดีดติ่งหู
#ต่ิง #ตั้งราคาสินค้า #เทคนิคการตั้งราคา
#underdog #anchor #anchoring
#marketing #การตลาด
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า