เชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายท่านน่าจะเคยได้ยินคำว่า “กฏ 80/20”...
ซึ่งบางท่านก็เรียกตามชื่อดั้งเดิมคือ..“กฏพาเรโต”...
หลักการของกฏนี้ก็คือ...ผลลัพธ์ส่วนใหญ่กว่า 80%....
มักจะเกิดจากตัวแปรเพียง 20% เท่านั้น...
ยกตัวอย่างในแง่ธุรกิจก็คือ...
ตัวเลขรายได้ส่วนใหญ่ของบริษัทฯ 80%...
จะเกิดจากลูกค้าเพียง 20 % ของจำนวนลูกค้าทั้งหมด...
สมมุติว่า...ยอดขายของบริษัทฯปีหนึ่งเท่ากับ 100 ล้านบาท...
และจำนวนลูกค้าทั้งหมดของบริษัทฯ มีอยู่ 100 ราย...
นั่นหมายถึงว่า...ยอดขายจำนวน 80 ล้านบาท...
มักจะเกิดจากลูกค้าเพียง 20 ราย...เท่านั้น...
ถามว่ากฏนี้มันจริงมั๊ย...
จากประสบการณ์ผมที่ทำงานกับหลากหลายบริษัทฯ...
ก็คงต้องตอบว่าก็...มีทั้งจริงและไม่จริง...
แน่นอนตัวเลขมันอาจจะมีเกินบ้าง...ขาดบ้าง...เป็นธรรมดา..
คงไม่เป็นตัวเลข 80 หรือ 20 เป๊ะๆหรอกครับ...
ยกตัวอย่างกรณีจริงๆเลยครับ...
ผมเจอบริษัทฯหนึ่งครับ...เขามีจำนวนลูกค้าประมาณ 400-500 ราย...
แต่ตัวเลขยอดขายประมาณ 80%...
เกิดจากลูกค้าเพียงไม่ถึง 10 รายเท่านั้นครับ...
เลยอยากสรุปเรื่องของกฏ 80/20 ในความเห็นส่วนตัวไว้คือ...
กฏนี้...ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ตัวเลขครับ...
เราต้องมุ่งไปดูที่หลักการก็คือ...
“ผลลัพธ์โดยส่วนใหญ่เกิดจากตัวแปรไม่กี่ตัว”
หลายคนอาจสงสัยว่า...แล้วกฏที่ว่านี้...มันดีหรือไม่ดีละเนี่ย...
เลยอยากแชร์ไอเดียเป็นประมาณนี้ละกัน...
ผมว่า...กฏนี้เป็นทั้งวิกฤติและโอกาส...
แล้วเราควรจะเลือก “มอง” กฏนี้ในมุมไหนดี...
สมมุติว่า...ถ้าท่านมีลูกค้าอยู่ 100 ราย...
และมีลูกค้าเจ้าใหญ่เพียง 20 ราย...
ที่ทำรายได้ให้ท่านถึง 80% ของยอดขายทั้งหมด...
มุมมองที่ 1: ถ้าท่านให้ความสนใจกับลูกค้าเจ้าใหญ่เพียง 20 ราย...
สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเขา...ไปเยี่ยมเยือนบ่อยๆ...
หรือมีโปรโมชั่นเป็นกรณีพิเศษ...หรือทำสะสมเป้ายอดขาย...
เมื่อซื้อครบเท่านั้นเท่านี้ตามที่ตกลงกันไว้...
ก็รับรางวัล...หรือรับ Rebate กันไป...
เป็นแบบนี้ท่านก็สบายใจ...ตัวเลขยอดขายปีนี้ไม่มีปัญหาแน่...
สรุปถ้าเป็นมุมมองนี้...มันก็เป็น “โอกาส” ครับ...
มุมมองที่ 2: ในทางกลับกันครับ...ท่านก็มี “ความเสี่ยง” มากเช่นกัน...
เพราะลูกค้าท่านมีตั้ง 100 ราย...
แต่ชีวิตท่านไปผูกกับลูกค้าเพียง 20 คน...
ถ้าเกิดลูกค้าเจ้าใหญ่ๆพวกนี้เกิดหายสาบสูญไปเพียงแค่ไม่กี่ราย...
ผมว่ายอดขายท่านกระทบหนักแน่ๆ...
ประมาณว่า...ลูกค้าเหล่านี้เป็นแค่หวัด...
แต่ตัวท่านอาจต้องเข้าไปนอนเล่นที่ ICU...
ก็โดยปรกติถ้าเป็นลูกค้าเจ้าใหญ่แบบนี้...
ส่วนมากก็ต้อง “เกรงใจ” เขาก็เรื่องธรรมดา...
เขาขออะไรมา...ส่วนมากเราก็ “ต้อง” ตามใจเขา...
เช่น...ขอส่วนลดพิเศษ...
ขืนไม่ให้ละก็...บริษัทฯเราเดือนร้อนแน่...
ทีเราจะขอขึ้นราคา...เขาดันไม่ยอมซะงั้น...
ถ้าลงเป็นแบบนี้...กำไรของเราเองมันก็จะหดลงไปทุกปีๆ...
ดังนั้นในมุมมองนี้...อันนี้เป็นวิกฤติแน่ๆครับ...
ลองดูอีกซักตัวอย่างหนึ่ง...
เป็นเคสที่เกิดขึ้นจริง...ธุรกิจนี้เขาขายสินค้าประเภทเวชภัณฑ์...
ทั้งขายส่ง...ขายปลีก...แน่นอนว่ายอดขายส่วนใหญ่...
ก็มาจากช่องทางขายส่ง...
เขามีจำนวนสินค้าประมาณเกือบ 8,000 ตัว...
แต่สินค้าที่ทำให้รายให้เขาประมาณ 80%...
จะเป็นสินค้าประมาณ 550 ตัวเท่านั้น...
พอเทียบสัดส่วน...มันจะได้เพียงประมาณ..7-8% เท่านั้น...
คำถามคือ...ตัวเลขสัดส่วนแบบนี้...วิกฤติหรือโอกาส?...
ในครั้งนั้น...ผมมองตัวเลขนี้ทั้ง 2 มุม...
เอามุมมองเรื่องของ “โอกาส” ที่จะเพ่ิมยอดขายก่อน...
จากสินค้าเกือบแปดพันตัว...แค่โฟกัส 550 ตัวนี้...
ไม่น่าจะเป็นเหลือบ่ากว่าแรงอะไร...
ตัวไหนที่กำไรดี...ขายเยอะๆ...เราก็แค่ตรวจสต๊อกทุกวันไ่ม่ให้สินค้าขาด...
แค่นี้ยอดขายก็ไม่ไปไหนแล้ว...
สินค้าตัวไหนกำไรดีมากๆๆๆๆ...แต่ขายน้อย...
ต้องวางแผนว่าควรทำอย่างใรให้ขายเพิ่มขึ้น...
เช่น...ให้ค่าคอมมิชชั่นกับเซลส์เยอะหน่อยมั๊ย...
เจาะจงสินค้าว่ากันไปตัวๆเลย...
หรือทำโปรโมชั่นลดราคาลงมาซักหน่อย...
ในทางกลับกัน...สินค้าแค่ 550 ตัวจากเกือบ 8,000 ตัว...
มันกลายเป็น “วิกฤติ” ได้อีก...
ลองคิดดูว่า...ถ้าเกิดสินค้าเหล่านี้เกิดขาดสต๊อก...
หรืออยู่ดีๆตัวที่ขายดีระดับต้นๆของกลุ่มนี้...
กลับกลายเป็นสินค้าที่ล้าสมัย...
หรือโดนสินค้าตัวอื่นมาทดแทนได้...
ยอดขายของเราจะตกอยู่ในความเสี่ยงแน่...
เพราะฉะนั้นสิ่งที่ทำได้ก็คือ...
ต้องพยายามปั้นสินค้าตัวที่อยู่นอกเหนือจากกลุ่ม 550...
ซึ่งในตอนนั้นผมเลือกปั้นสินค้าที่ได้กำไรมากกว่า...
กำไรเฉลี่ยของบริษัทฯเลือกมาทำก่อนครับ...
เพราะฉะนั้น...หลักการของ 80/20 ผมว่ายังทันสมัยอยู่เสมอ...
แต่อยู่มุมมองของเราว่า...
ควรจะมองมันเป็น “โอกาส” หรือ “วิกฤติ” ครับ...
บทความนี้ไม่มีลิขสิทธิ์สามารถแชร์ได้ตามที่เห็นสมควรครับ..
-บุ้ง ดีดติ่งหู-
Marketing & Sales Consultant
The Underdog Marketing
5 มีค. 63
นครสวรรค์
Line id: wichawut_boong
email: [email protected]
FB Fanpage: บุ้ง ดีดติ่งหู
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า