ถ้าจะแยกกิจกรรมเพื่อหารายได้เข้าบริษัทฯ โดยใช้ “ระยะเวลาการหวังผล” มาเป็นเกณฑ์การประเมิน สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
1.หวังผลระยะสั้น ซึ่งกิจกรรมส่วนนี้มักจะอยู่หมวดของ “การขาย”
2.หวังผลระยะยาว จะเป็นเรื่องของ “การตลาด” และส่วนมากก็จะมุ่งเน้นไปที่การทำBranding เป็นหลัก
คำถามคือแล้วการขาย จะหวังผลระยะยาวได้หรือไม่?
คำตอบก็คือ ทำได้แน่ๆ แต่คงไม่ยืนยาวเท่ากับการสร้าง Branding
Branding ไม่ได้หมายความถึงแค่การมีโลโก้
แต่มันพูดถึงความรู้สึกของลูกค้าที่มีต่อเรา ซึ่งรวมไปถึงตัวสินค้า, ชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ การบริการของบริษัทฯ และที่สำคัญคือตัวเซลส์ที่รับผิดชอบลูกค้ารายนั้น ก็นับว่าเป็นการสร้างแบรนด์ที่สำคัญอย่างหนึ่งเหมือนกัน
บทความนี้จะเล่าให้ฟังถึงเทคนิคการขาย เพื่อทำให้ธุรกิจยั่งยืน ซึ่งจะว่าไปแล้วเป็นเสมือนการทำ “Micro Branding” หรือการเป็นการทำแบรนด์ดิ้งแบบ “หนึ่งต่อหนึ่ง" เจาะจงไปหาลูกค้าทีละราย
ระดับขั้นของการขาย เพื่อให้ธุรกิจยั่งยืน
ขั้นที่ 1: ขายตามความต้องการของลูกค้า
ระดับความยั่งยืน : ต่ำ
ขั้นนี้ถือว่าเป็นขั้นมาตรฐานที่เซลส์ทุกคนต้องทำได้ เพราะตอนนี้มีความต้องการที่จะซื้อสินค้าแล้ว ถ้าเราเป็นเพียงรายเดียวที่สามารถจัดหาได้ หรือเป็นสินค้าที่มีความแตกต่างจากคนอื่นอย่างมีนัยสำคัญ
แบบนี้ก็ดีไป เช่น ลูกค้าเขาระบุยี่ห้อ ระบุสเปคมาเลย แล้วบริษัทฯเราก็เป็นผู้ผลิตซะด้วย แถมเป็นแบรนด์ของเราอีก
ถ้าลงเป็นแบบนี้ความยั่งยืนของธุรกิจจะมาจากทางฝั่งการตลาด หรือฝ่ายผลิต, ฝ่าย R&D เป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่เกิดจากทีมขาย
แต่ถ้าเกิดมีคู่แข่งหลายรายละ สินค้าก็เหมือนกัน การบริการดีพอๆกัน สุดท้ายก็มักจะไปจบกันที่เรื่องของ “ราคา” ซึ่งบอกได้เลยว่าหาความยั่งยืนทางธุรกิจค่อนข้างลำบาก
ไม่รู้จะโดนคู่แข่งตัดราคาวันไหน หรืออาจจะโดนลดสัดส่วนการขายเมื่อไรก็ได้
สิ่งที่จะแลกกับคำว่า “ยั่งยืน” นั่นคือกำไรของบริษัทฯที่อาจจะน้อยลง
จากประสบการณ์เซลส์แมนส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับนี้
ขั้นที่ 2: ลดต้นทุน หรือทำให้สินค้า หรือ Productivity ของลูกค้าดีขึ้น
ระดับความยั่งยืน : ปานกลาง
ในขั้นนี้แบ่งออกเป็น 2 หัวข้อย่อย
2.1 Direct Cause: หมายถึงสินค้าเราเป็นสาเหตุโดยตรง เช่น
2.2 In-direct Cause:
สินค้าเราทำให้ลูกค้า หรือสินค้าตัวเดิมๆของเขามีโอกาสขายดีขึ้น จนทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง ตามหลักของ Economy of Scale หรือทำให้เขาทำงานสะดวก และประหยัดเวลามากขึ้นที่เรียกว่าการเกิด Economy of Speed
ซึ่งการประหยัดทั้ง 2 แบบนี้ จำเป็นต้องอาศัยอีกหนึ่งกระบวนการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ เรียกได้ว่าเป็นผลจากการกระทำโดยอ้อม
เช่น
ซึ่งงานนี้อาจจะไม่เกิดจากตัวเราในฐานะซัพพลายเออร์โดยตรง คนเดียว ทางลูกค้าจำเป็นต้องต่อยอดไอเดีย ใส่งบประมาณในทำการตลาดเพิ่มเติม
เมื่อฝ่ายขายไม่ต้องเสียเวลาในการเข้าเยี่ยมแต่ร้าน ทำให้เขามีเวลาในการหาลูกค้ารายใหม่ ดังนั้นยอดขายก็ควรจะเพิ่มขึ้น
แต่ถ้าเซลส์คนดังกล่าวแทนที่จะเอาเวลาที่ประหยัดมานั้น ไปทำเรื่องส่วนตัว แบบนี้มันก็ไม่ครบองค์ประกอบที่จะทำให้เกิด Economy of Speed
ดังนั้นสินค้าเราคงไม่ใช่เป็นสาเหตุหลักที่จะทำให้ยอดขายของลูกค้าดีขึ้นโดยตรง แต่ Software ของเราจึงเป็น “ตัวช่วย”ที่สำคัญอย่างหนึ่ง
เชื่อว่าเซลส์หลายท่านอาจลืมมองในมุมนี้ไป
ดังนั้นผมจึงให้การขายแบบนี้ ส่งผลกับธุรกิจเราในระดับปานกลาง จนกว่าจะมีเทคโนโลยี่ใหม่เข้ามาแทนที่ หรือมีวัตถุดิบของคู่แข่งที่ประหยัดกว่าของเรา
ขั้นที่ 3: ทำให้ธุรกิจของลูกค้าเติบโตขึ้น (Consultative Selling)
ระดับความยั่งยืน : สูง
ระดับนี้ถือว่าเป็นการขายสินค้าที่จะส่งผลให้มีความยั่งยืนต่อธุรกิจสูงสุด งานนี้ Mindset ของทีมขายจะต้องเปลี่ยนจากการขายสินค้า กลายเป็น “ที่ปรึกษา” ถ้ากล่าวโดยหัวใจของการขายแบบนี้คือ
“ผลประโยชน์ของลูกค้า ต้องมาก่อนผลประโยชน์ของเรา”
เพราะเมื่อไรก็ตามที่เป็นแบบนี้ ผลลัพธ์ที่ตามมานั่นคือความไว้ใจ และสร้างความมั่นใจในทั้งในส่วนของตัวเซลส์เอง และบริษัทฯก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งอาจก้าวข้ามเส้นเบ่งของคำว่า “ธุรกิจ” เช่น
มีอยู่ครั้งหนึ่งตอนที่ผมทำงานอยู่ในธุรกิจอาหาร ก็เป็นซัพพลายเออร์ส่งวัตถุดิบให้กับ Food Chain รายหนึ่ง
มีอยู่วันหนึ่งผู้บริหารที่นี่ แค่พูดออกมาเปรยๆว่า อารมณ์ประมาณ “ปิ๊งแว๊บ” ไอเดีย อยากจะมีเมนูใหม่ เพื่อสร้างสีสรรและสร้างยอดขายในช่วงหน้าร้อน
พอได้ยินแบบนั้นเลยสำรวจตลาดเข้าไปนั่งกินที่ร้านตั้งหลายชั่วโมง
ไปสังเกตุเมนู สำรวจราคา ดูพฤติกรรมผู้บริโภคว่าเขาชอบกินประมาณไหน ใช้เงินประมาณเท่าไรต่อการกินหนึ่งครั้ง พอได้รวบรวมข้อมูลที่สำคัญๆ ได้แล้ว เลยไปปรึกษากับทีมงาน
สุดท้ายเลยนำวัตถุดิบตัวหนึ่งขึ้นมา เพื่อไปประกอบกลายเป็นเมนูใหม่ขึ้นมา ตอนที่นำเสนอ ผมทำตัวเสมือนหนึ่งเป็นฝ่ายการตลาดเขาเลย มีข้อมูลให้เสร็จสรรพ แถมยังให้ฝ่ายกราฟฟิคทำ Moc Up ป้ายโฆษณา แล้วนำไป Re-touch จากหน้าร้านจริงๆ
จำได้ว่าตอนที่ไปนำเสนอ พอ Concept ของตัวสินค้าผ่าน
ลูกค้าไม่ได้ต่อรองราคาซักคำ
นับจากวันนั้นถึงวันนี้ น่าจะเกือบ 10 ปีได้แล้วมั๊ง
เห็น FB ของที่นี่ยังโปรโมทสินค้าตัวนี้อยู่เลยครับ
บทความนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เผยแพร่ได้ตามสะดวก
-บุ้ง ดีดติ่งหู-
Marketing&Sales Consultant
Underdog Academy
Line id: wichawut_boong
Email: [email protected]
#growthmindset #mindset #Sales #Consult #Selling
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า