วัตถุประสงค์หลักของบริษัทฯที่ทำธุรกิจโดยทั่วๆไป ในส่วนของมักจะคำนึงถึง 2 เรื่องเป็นสำคัญ ได้แก่ กำไร และการเติบโตอย่างยั่งยืน 

ช่วงแรกๆที่ดำเนินธุรกิจในส่วนของทีมงานฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายอาจไม่มีความซับซ้อนนัก แต่เมื่อไรก็ตามที่ยอดขายเติบโตขึ้น 

บางครั้งกำไรโดยรวมไม่ได้เติบโตตามไปด้วย เนื่องจากสินค้าเริ่มมีหลากหลายขึ้น แต่ละกลุ่มสินค้าก็กำไรไม่เท่ากัน ค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดก็แตกต่างกันลิบลับ

สินค้าเดิมๆที่เป็นสินค้าหลัก หรือสินค้าที่ขายจนติดตลาดไปแล้ว ค่าใช้จ่ายเรื่องการตลาดอาจน้อยกว่า สินค้าใหม่มันก็เป็นเรื่องปรกติ

ด้วยความแตกต่างของช่องทางการจัดจำหน่าย ทำให้การบริหารงานแบบเดิมที่รวมศูนย์ทั้งหมด อาจไม่ตอบโจทย์ก็ได้

หนึ่งในวิธีการบริหารที่ผมแนะนำให้บริษัทฯเหล่านี้ใช้ก็คือ การแบ่งเป็น “หน่วยธุรกิจย่อย” (Business Unit) หรือเรียกสั้นๆว่า “BU” 

ซึ่งมีข้อดีก็คือ✅

✅สามารถแบ่งเบาภาระของตัวเจ้าของธุรกิจ ไม่ต้องมาเสียเวลาในการดูแลในรายละเอียดทั้งหมดด้วยตัวเอง เพียงแต่บริหารจัดการในภาพรวม จะได้มีเวลาในการวางกลยุทธ์ เพื่อให้ธุรกิจก้าวหน้าขึ้นไปอีก

✅แต่ละ BU สามารถโฟกัสในสินค้าที่ถืออยู่ในมือ มีการทำแผนการตลาดแยกออกมาโดยเฉพาะ ทั้งในเรื่องของช่องทางการจัดจำหน่าย, งบโฆษณา หรือแม้กระทั่งทีมขาย

✅สินค้าใหม่ หรือสินค้าที่มียอดขายไม่มากนัก แต่กำไรสูงจะถูกให้ความสนใจมากขึ้น

✅มีการประเมินผลที่แน่ชัดว่า BU ไหนที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่ดี ซึ่งไม่ได้หมายความแต่เพียงว่าเป็น BU ที่มียอดขายสูงๆเท่านั้นที่มีผลงานที่ดี เนื่องจากเกณฑ์การประเมินอาจแตกต่างกัน 

✅เนื่องจากแนวคิดหลักของการบริหารแบบ BU นี้ก็คือ ทุกๆหน่วยจะต้องสามารถเลี้ยงตัวเองให้ได้ ดังนั้นผู้บริหารของแต่ละหน่วย จึงต้องถูกบังคัลกลายๆให้สวมวิญญาณการเป็น “เจ้าของธุรกิจ”

อย่างไรก็ตามเมื่อมีข้อดี ก็ต้องมีข้อควรระวังเหมือนกัน เช่น 

♨️ข้อมูลตัวเลขทางบัญชี เนื่องจากจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลในส่วนของกำไร-ขาดทุน หรือบางครั้งบางคราวอาจรวมไปถึง Know How ในการผลิตซะด้วยซ้ำ

♨️อาจจะมีความขัดแย้งระหว่าง BU ได้ ซึ่งตรงนี้ขึ้นอยู่กับว่าเรามองในแง่ลบหรือบวก ถ้าในแง่บวกหมายถึงทำให้เกิดการแข่งขันภายใน  ซึ่งถ้าตัวเจ้าของเองสามารถบริหารความขัดแย้ง เพื่อก่อให้เกิดมุมของการแข่งขันได้ ก็จะเพิ่ม Productivity ของบริษัทฯในภาพรวม

♨️บางทีตัวเจ้าของเก่งมาก แต่คนที่จะต้องรับผิดชอบแต่ละ BU เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ดังนั้นต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า มีการพัฒนาบุคลากร หรือไม่ก็ต้องนำมืออาชีพเข้ามาช่วย

ดังนั้นวิธีการบริหารแบบนี้จำเป็นต้องใช้เวลาวางแผนอยู่พอสมควร โดยเฉพาะเรื่องของพัฒนาบุคลากร รวมไปถึงวัฒนธรรมองค์กรที่ต้องทำงานเพื่อส่วนรวม ไม่ใช่พอแบ่งเป็น BU ไปปั๊บ ก็เกิดการขัดแข้งขัดขากันเอง 

ถ้าลงเป็นแบบนี้ละก็ ตัวเจ้าของเอง คงมี “งานงอก” อีกบานเบอะแน่ๆครับ

???

บทความนี้ไม่มีลิขสิทธิ์เผยแพร่ได้ตามสะดวกเลยครับ

???

-บุ้ง ดีดติ่งหู-

Marketing&Sales Consultant 

The Underdog Marketing

Line id: wichawut_boong

Email: [email protected]

จุดประกายไอเดียทางการตลาดและการขาย

สมัครรับข่าวสาร

© สงวนลิขสิทธิ์ 2018-2024 Underdog Marketing
นโยบายความเป็นส่วนตัว
crossmenu

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า