ฝ่าวิกฤติธุรกิจธุรกิจด้วยบันได 4 ขั้น
หลายปีที่ผ่านมาเชื่อว่าหลายท่าน...
จะต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องยอดขาย...
ซึ่งอาจมีผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา...
จะว่าไปแล้ว...เราก็ไม่สามารถไปโทษใครได้...
จริงปะ...
ปัญหาอย่างหนึ่งที่มักเจอเป็นอย่างแรก...
เวลาที่ผมได้เข้าไปช่วยให้คำปรึกษาเพื่อฟื้นฟูกิจการ...
เจ้าของธุรกิจมักจะแก้ปัญหาทุกอย่างไปพร้อมๆกัน...
โน่นก็จะเอา...นี่ก็อยากได้....
สุดท้ายไม่ได้ทำอะไรซักอย่าง...
เพราะทำโน่นติดนี่ (และอาจติดหนี้จริงๆ)...ทำนี่ติดโน่น...
ยอดขายก็เลย “ติดหล่ม” ไม่ไหนไหนซักที...
เลยอยากจะกำหนดเป็น บันได 4 ขั้น...
เพื่อเป็น “หลักกิโล” ในความสำเร็จทีละขั้น...
ทึ่ตัวผมเองเคยวางขั้นตอนแบบนี้...
และนำไปใช้จริงมาแล้วหลายครั้ง...
ครั้งแรก...เป็นช่วงที่ผมทำงานประจำ...
ผมรับตำแหน่งใหญ่โตเป็น MD...
แต่ทั้งบริษัทฯมีเงินติดบัญชี เพียง 97 บาท...
ขอย้ำ 97 บาท!!!!
=================================
ขั้นที่ 1: เพิ่ม “ยอดขาย”
ช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วง “ฝุ่นตลบ”…
ท่านผู้อ่านจำเป็นต้องเพิ่มยอดขาย...
และที่สำคัญท่านต้องเก็บเงินจากลูกค้าให้ได้ด้วย...
สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรกสุดของธุรกิจก็คือ...
“กระแสเงินสด”ครับ...
พยายามขายเป็น “เงินสด” ให้ได้มากที่สุด...
กำไรน้อยหน่อยไม่เป็นไร...
เมื่อขายสินค้าได้มากขึ้น + เก็บตังค์ได้...
กระแสเงินสดก็ดีขึ้นแน่นอน...
เราแก้ปัญหาไปเปลาะหนึ่งแล้ว...
===============================
ขั้นที่ 2: เพิ่ม “กำไรที่เป็นเม็ดเงิน”
เมื่อกระแสเงินดีขึ้น...
คราวนี้ท่านต้องเริ่มมาดูในส่วนกำไร...
เริ่มดูจากกำไรส่วนที่เป็น “เม็ดเงิน”ก่อน...
เช่น....ยอดขายเท่านี้...เหลือกำไรกี่บาท...
พอเพียงกับค่าใช้จ่ายประจำหรือไม่...
ขายเดือนละหนึ่งล้าน....เหลือกำไรสามแสน...
พอหักค่าน้ำค่าไฟ...ค่าพนักงาน...ค่าเช่าอาคาร...
หมดพอดี...ตอนนี้ไม่ติดลบแล้ว...
พูดง่ายๆคือผ่านจุดคุ้มทุนซะที...
แค่นี้ก็แก้ปัญหาไปอีกขั้น....
==================================
ขั้นที่ 3 เพิ่มกำไรก่อนหักค่าใช้จ่าย...ส่วนที่เป็นเปอร์เซ็นต์
ผ่านด่านทดสอบมา 2 ขั้นแล้ว...
ถ้าเป็นศัพท์แบบเด็กยุคนี้...
ต้องใช้คำว่า “ผ่านเวล 2 กำลังขึ้นเวล 3”....
“เวล” นี้ยากขึ้นอีกหน่อย...
เป็นเวลก่อนเจอบอส...
ขั้นตอนนี้...จุดที่ต้องใส่ใจในรายละเอียด...
เท่าที่ผมเคยทำ...จะเน้นใน 2 จุด...
1.ต้นทุนสินค้า...เพราะตอนนี้เราเพิ่มยอดขายได้แล้ว..
ดังนั้น...เราก็ควรจะต่อรองกับซัพพลายเออร์ให้ลดราคาสินค้า...
หรือไม่...ตัวเราเองก็ควรจะลดต้นทุนการผลิตได้...
ตามหลักการประหยัดเชิงขนาด (Economy of scale)
2.การที่เอารายการสินค้ามาดูว่า...
ตัวไหนกำไรน้อยเกินไป...
จากนั้นก็ถึงคราวที่ต้องดูทีละรายการ...
ตัวไหนควรปรับราคาขึ้น...
ตัวไหนควรตัดทิ้ง...เพราะกำไรน้อยเกินไป...
ตัวไหนควรให้ความสนใจมาก...
เพราะกำไรเยอะ...แต่ขายน้อย...
ตัวไหนต้องไม่ให้สินค้าขาดสต๊อกโดยเด็ดขาด...
เพราะกำไรดี...ยอดขายก็เยอะ...
จากประสบการณ์ที่ผมทำมาหลายครั้ง...
เมื่อไรที่ท่านมาถึงขั้นนี้...แล้วมานั่งดูสินค้าทีละตัวๆ...
แล้วดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น...
“เวล” นี้เหมือนสปริงบอร์ด...
ในการกระโดดให้พ้นจุดวิกฤติเลยครับ...
ถ้าท่านมีจำนวนสินค้ามากมายหลายตัว...ทำไม่ไหว...
ก็ให้เลือกทำแต่สินค้าที่สำคัญๆ...ที่
ส่งผลยอดขายเป็นส่วนใหญ่...
ตามกฎ 80/20 ครับ....
=====================================
ขั้นที่ 4: เพิ่มกำไรสุทธิ
มาถึงขั้นสุดท้าย...เมื่อผ่านจุดวิกฤติมาได้แล้ว...
คราวนี้ลองหันกลับมาดู....
ส่วนที่เป็นกำไรสุทธิบ้างละ...(Net Profit)
แบ่งออกเป็น 2 ตัว...
กำไรสุทธิส่วนที่เป็นเม็ดเงิน...
และ...ตัวสุดท้าย...กำไรสุทธิส่วนที่เป็นเปอร์เซ็นต์...
จุดที่ผมชอบที่จะลงลึกไปในรายละเอียด...มี 2 เรื่อง...
เรื่องแรก...ค่าใช้จ่ายในการบริหารต่างๆ...
ทำอย่างไรถึงจะลดได้...เช่น...
เปลี่ยนวิธีการผลิตใหม่...
จัดองค์กรใหม่ (Re-organizing)...ยุบบางหน่วยงาน...
ส่วนเรื่องที่สอง...เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด...นั่นก็คือ...
ถามใจตัวเองจริงๆจังๆซักที...
กำไรสุทธิเท่าไรกันแน่...ที่เราอยากจะได้...
เช่น...แต่ละเดือนเราควรจะเหลือกำไรในส่วนของเรา...เป็นกี่บาท...
หรือ...กำไรที่เราได้ต่อเดือน...
เมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว....
ควรจะได้มากกว่าการดอกเบี้ยธนาคารกี่เปอร์เซ็นต์???
เพราะสุดท้าย...ถ้าท่านอยากได้กำไรสูงๆ...
สูงเกินกว่าความสามารถของธุรกิจท่านในขณะนั้น...
ท่านก็ต้องกลับไปเริ่มต้นขั้นตอนที่ 1 ใหม่...
ไม่ยากครับ....
บทความทั้งหมดนี้ไม่มีลิขสิทธิ์
สามารถเผยแพร่ได้ตามสะดวกครับ
-บุ้ง ดีดติ่งหู-
Marketing & Sales Consultant
The Underdog marketing
FB: @Boong.marketing
LINE ID: wichawut_boong
email: [email protected]
website: www.underdog.run
Mobile: 089-7991949
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า